ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Nut grass
Nut grass
Cyperus rotundus L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cyperaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus L.
 
  ชื่อไทย หญ้าขนหมู, หญ้าแห้วหมู
 
  ชื่อท้องถิ่น - หญ้าหัวจ๋ม(ไทใหญ่) - หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก, มีลำต้นใต้ดิน, สามารถแพร่ขยายไปเป็นเส้นยาว, ที่ปลายสุดมีหัวรูปกลม หรือรี, เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 6 มม., แข็ง, สีดำ; ลำต้นมีขนาดเล็ก, เกลี้ยง, เป็นสามเหลี่ยม, เกิดจากก้านใบหุ้มซ้อนกัน, ยาว 10 – 25 ซม.
ใบ ยาว, เล็ก, กลางใบเป็นร่อง, สีเขียวเข้ม, เกลี้ยง.
ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็ก, ขึ้นจากกลางต้น, มีใบประดับรองรับช่อดอก 2 – 4 (-6) ใบ, กางออก, ใบประดับยาวเท่ากับช่อดอกหรือยาวกว่า, ดอกย่อยไม่มีก้านดอก; เกสรผู้ 3 อัน, อับเรณูยาวแคบ; ปลายท่องรับไข่มี 3 แฉก.
ผล รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ, ปลายแหลม, มีหน้าตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยม, สีน้ำตาล หรือ ดำ. [6]
 
  ใบ ใบหุ้มซ้อนกัน, ยาว 10 – 25 ซม.
ใบ ยาว, เล็ก, กลางใบเป็นร่อง, สีเขียวเข้ม, เกลี้ยง.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็ก, ขึ้นจากกลางต้น, มีใบประดับรองรับช่อดอก 2 – 4 (-6) ใบ, กางออก, ใบประดับยาวเท่ากับช่อดอกหรือยาวกว่า, ดอกย่อยไม่มีก้านดอก; เกสรผู้ 3 อัน, อับเรณูยาวแคบ; ปลายท่องรับไข่มี 3 แฉก.
 
  ผล ผล รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ, ปลายแหลม, มีหน้าตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยม, สีน้ำตาล หรือ ดำ. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - หัวใต้ดิน ต้มในหม้อน้ำนำนิ้วมือที่หงิกงอมาอังบนไอน้ำ(ไทใหญ่)
- ลำต้นใต้ดิน (หัว) ใช้หัวสด ประมาณ 60 – 70 หัว หรือหนักประมาณ 15 กรัม นำมาทุบให้แตกต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการปวดแน่นหน้าอก แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ แก้ปวดประจำเดือน อาเจียน แก้ท้องร่วง บำรุงทารกในครรภ์ ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้องเนื่องจากท้องอืด หรือใช้หัวสดตำให้ละเอียดเป็นยาพอกฝีดูดหนอง และใช้แก้อาการคันเนื่องจากโรคผิวหนัง เป็นต้น
ราก ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ ลดไข้ และเป็นยาแก้กษัย เป็นต้น
- หัวแห้วหมูสด เมื่อนำมาเป็นยาต้มเช้าและเย็น นานหลายวันแล้ว เมื่อเอาลงในดินแล้ว หัวนั้นก็สามารถที่จะงอกได้อีก[1]
- หัวใต้ดิน มีกลิ่นหอมมาก, ใช้เข้าเครื่องยา, เป็นยาฝาดสมาน, ขับปัสสาวะ, ขับลม, บำรุงธาตุ, ขับระดู, ขับเหงื่อ, สงบประสาท, แก้บิด, ท้องเสีย, ท้องมาน, ช่วยย่อย, แก้อาเจียน, ลดไข้, แก้กระหายน้ำ, ตับอักเสบ และถ้าใช้ในปริมาณมาก ๆ, ขับพยาธิตัวกลมได้, นอกจากนี้ยังใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ต้มกับใบบัวบกและหญ้าคา, กินแก้นิ่วในไต [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง